ปัจจุบัน ด้วยค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหลายๆบริษัทหันมาให้ความสนใจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น โดยปัจจุบันมีรูปแบบการลงทุน 3แบบคือ การลงทุนด้วยตัวเอง (EPC), สินเชื่อสำหรับเช่าซื้อ (Leasing), และการหาผู้ลงทุนผ่านสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า (Solar Private PPA).โดยมีผู้ลงทุนสร้างระบบโซล่าเซลล์ และผู้ใช้จะซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบนี้.
เริ่มจาก PPA หรือ Power Purchase Agreement คือข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อพลังงาน ทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าทดแทน หรือสัญญาที่ทำร่วมกันเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันว่าระบบโซล่าเซลล์ โดยผู้ขายจะเป็นผู้ลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ ตั้งแต่ขั้นตอนในการออกแบบทางวิศวกรรม จัดหาอุปกรณ์ ติดตั้ง ขอใบอนุญาต ดูแลการทำงานของระบบ รวมถึงการบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5-20ปี (ตามข้อตกลงในสัญญา) และเมื่อครบสัญญาแล้ว ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อได้ใช้ต่อโดยไม่มีข้อผูกมัด
ซึ่ง Solar Private PPA เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ระหว่างองค์กรภาคธุรกิจด้วยกัน ที่ได้มีการทำข้อตกลงซื้อขายพลังงานกันโดยตรง โดยรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการซื้อขายพลังงาน อัตราการชำระเงิน และเงื่อนไขต่าง ๆ จะถูกตกลงกันระหว่างฝ่ายผู้ผลิตและผู้ซื้อพลังงานด้วยกันเอง ทำให้ Solar Private PPA มีความยืดหยุ่นในการกำหนดข้อตกลง และมีจุดร่วมที่เหมาะสมต่อความต้องการขององค์กรทั้งสองฝ่าย
มีผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้ โดยเจ้าของสถานที่ไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว พร้อมทั้งช่วยดูแลระบบในระยะยาวแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจ ลงทุน ออกแบบการติดตั้งให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานสำหรับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะ รวมถึงการตรวจสอบและบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาตามสัญญา
เพราะบริษัทผู้ลงทุน มีส่วนลดพิเศษจากค่าไฟฟ้าที่จ่ายปกติ 5-40% ต่อหน่วย
ตามปกติแล้วการกำหนดข้อตกลงของ Solar Private PPA จะต้องมีการการันตีหน่วยการผลิตไฟฟ้า ด้วยการบำรุงรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ตลอดตามอายุสัญญา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบพลังงานจะสามารถทำงานได้ตามประสิทธิภาพตามที่การันตีไว้
การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานทดแทนสะอาด ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานทดแทนของภาครัฐ
กรณีบริษัทเลือกลงทุนกับระบบโซล่าเซลล์ด้วยตัวเอง (EPC) จะมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากมาย ทั้งเงินทุนในการติดตั้ง การดูแลระบบ การบำรุงรักษาระยะยาว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรที่จะเข้ามาดูแลระบบโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับบริษัท แต่หากทำสัญญาสำหรับซื้อขายพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบ Solar Private PPA ที่มีการดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการลงทุนติดตั้งให้ฟรี ไปจนถึงการดูแลและบำรุงรักษา ก็จะทำให้บริษัทสามารถโฟกัสในการทำงานตามตำแหน่งของตัวเองได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
การลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์เอง EPC หรือ Engineering Procurement and Construction เป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งด้านการออกแบบด้านวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซล่าเซลล์ การขออนุญาตในรูปแบบต่างๆของโครงการนั้นๆ ซึ่งบริษัทต้องลงทุนในการติดตั้งเองตามค่าใช้จ่ายที่ตกลงร่วมกับผู้รับเหมา แต่การดูแลแผงโซล่าเซลล์จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน การดูแลระบบให้ได้หน่วยการผลิตไฟฟ้าตามที่ต้องการ การบำรุงรักษาที่อาจเกิดขึ้นก็อาจทำให้การลงทุนด้วยตัวเองไม่คุ้มค่าอย่างที่คิด จึงทำให้ Solar Private PPA เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่า เพราะไม่ต้องเสียเงินลงทุน พร้อมได้รับประโยชน์ในการดูแลตลอดระยะเวลาสัญญานั่นเอง
เราร่วมกับบริษัทผู้ลงทุนจากต่างประเทศ มีผลงานการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในรูปแบบ Solar Rooftop , Solar Floating , Solar Power Plant ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยผลงานมากกว่า 13กิกะวัตต์ ขอให้ทุกท่านได้มั่นใจในความเป็นมืออาชีพของเรา ทั้งเรื่องมาตรฐานการออกแบบ ติดตั้ง และดูแลหลังการขายในระยะยาว
BOI (Board of Investment) เป็นหน่วยงานรัฐ มีชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย ทั้งนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ ทุกขนาดการลงทุน เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี และไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ การอนุญาตให้นำช่างฝีมือจากต่างประเทศมาทำงานในโครงการ โดยธุรกิจที่ขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะครอบคลุม 8 อุตสาหกรรมหลักๆ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ
หากมองย้อนกลับไปประมาณ 5 ปีที่แล้ว ทางรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมกับต้องการยกระดับกิจการในไทยให้มีมาตรฐาน มีนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เป็นตัวแทนทำหน้าที่ให้การส่งเสริมนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากเดิมส่งเสริมกิจการตามเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น ปรับมาเป็นส่งเสริมตามประเภทกิจการแบ่งเป็น 8 อุตสาหกรรม โดยกำหนดเป้าหมายตามนโยบายประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นให้การสนับสนุนธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Products) การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
เงื่อนไขหลัก คือ บริษัทสัญชาติใดก็ตามที่ประกอบธุรกิจในไทย สามารถยื่นเรื่องขอรับการส่งเสริมได้ หากบริษัทผ่านเงื่อนไขและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บริษัทจะมีสถานะเป็น “บริษัทที่ได้รับการส่งเสริม BOI” และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน พร้อมสิทธิประโยชน์ เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 3 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรทั้งหมด เป็นต้น
1. เกษตรกรรมและผลิตผลทางเกษตร เช่น การปลูกพืชเศรษฐกิจ การปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตอาหารและยาทางการแพทย์
2. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง เช่น การผลิตเครื่องจักรกล การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน การผลิตเครื่องยนต์ เกียร์ และระบบขับเคลื่อน
3. เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน เช่น การทำเหมืองแร่ การผลิตแก้ว การผลิตเซรามิกส์ การผลิตเหล็กและโลหะพื้นฐานอื่นๆ
4. อุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตสิ่งทอ การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน การผลิตของเล่น การผลิตกระเป๋าและรองเท้า
5. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การพัฒนาและผลิตซอฟต์แวร์ การออกแบบและผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
6. กิจการบริการและสาธารณูปโภค เช่น การขนส่งมวลชน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล ขยะ ลม แสงแดด และน้ำ การบริการทางการแพทย์
7. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น การพัฒนาไบโอเทคโนโลยี การพัฒนานาโนเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ขั้นสูง
8. เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก เช่น การผลิตยา การผลิตสารเคมี การผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ การผลิตพอลิเมอร์ และการผลิตสิ่งพิมพ์
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด13ปี (แตกต่างกันตามเงื่อนไขของประเภทกิจการ)
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมสูงสุด 5 ปี
- ยกเว้นอาการขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัย และพัฒนา
- อนุญาตให้นำคนต่างชาติเข้ามาเพื่อศึกษา ลู่ทางการลงทุน
- อนุญาตให้ช่างฝีมือผู้ชำนาญการจากต่างประเทศ เข้ามาทำงาน
- อนุญาตให้ส่งออกเงินตราต่างประเทศ
- อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน (สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริม)
1. ศึกษาข้อมูลขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้เงื่อไขที่ BOI กำหนด
2. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน
3. ชี้แจงโครงการ
4. วิเคราะห์โครงการ โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาตามขนาดการลงทุน
5. แจ้งผลพิจารณา
6. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน
7. ขอรับบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ยื่นขอรับบัตรส่งเสริม พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือน
8. ออกบัตรส่งเสริม